องค์การบริหารส่วนจังหวัดเดิมที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498
มีวิวัฒนาการจากสภาจังหวัด ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 โดยบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476
ให้มีสภาจังหวัด  ซึ่งประชาชนเลือกตั้งเข้ามาเป็นตัวแทนทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำคณะกรรมการจังหวัด สภาจังหวัด
ขณะนั้นมิได้เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นหรือนิติบุคคล ต่อมา พ.ศ. 2481 ได้มีการตรา พ.ร.บ. สภาจังหวัด พ.ศ. 2481
ขึ้น
โดยประสงค์จะให้มีกฎหมายเกี่ยวกับสภาจังหวัดโดยเฉพาะแยกต่างหากจาก พ.ร.บ. จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476
แต่สภาจังหวัดยังคงทำหน้าที่เช่นเดิมอยู่เมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ซึ่ง พ.ร.บ.
ดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าและรับผิดชอบการบริหารราชการในจังหวัดโดยตรงแทนคณะกรรมการ
จังหวัดสภาจังหวัดในขณะนั้นจึงกลายเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด  แต่เนื่องจากบทบาทของสภาจังหวัดในฐานะ
ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดไม่สู้จะบรรลุผลและเกิดประโยชน์เท่าที่ควรจึงมีความเคลื่อนไหวพยายามปรับปรุงให้สภาจังหวัด
มีบทบาท มากยิ่งขึ้นจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2498 ได้มีการตรา พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 ขึ้น
บังคับใช้ยังผลให้เกิดมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด  ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นมีพื้นี่รับผิดชอบในเขตจังหวัด นอกเขตเทศบาล และสุขาภิบาล


                     
 ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และมีนายอำเภอป็นผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดรับผิดชอบบริหาร
กิจการส่วนจังหวัด ในเขตอำเภอนั้นๆ โดยมีสภาจังหวัดทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วน
จังหวัด พ.ศ.2498 ใช้บังคับมา 42 ปี จากการประกาศใช้ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537
ทำให้สภาทุกแห่งมีฐานะ เป็นนิติบุคคลและตำบลใดมีรายได้เฉลี่ยย้อนหลังสามปี 150,000 บาท ขึ้นไป จะถูกยกฐานะ
เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ขณะนี้มีองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสิ้น 6,397 แห่ง
ยังเหลือเป็นนิติบุคคลอยู่อีก 568 แห่ง ซึ่งเมื่อครบหลักเกณฑ์แล้ว ก็จะถูกยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลต่อไป

                       จากการที่องค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าว ทำให้เกิดผลกระทบกับองค์การ บริหารส่วนจังหวัด
ตาม พ.ร.บ. พ.ศ. 2498  อย่างยิ่ง  3  ประการ  คือ
                        1. ความซ้ำซ้อนในเรื่องพื้นที่
                        2. ความซ้ำซ้อนในเรื่องอำนาจหน้าที่
  
                      3. ความซ้ำซ้อนในเรื่องรายได้ 
จึงมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และรัฐบาลเล็งเห็นว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดยังมีความจำเป็นที่จะต้อง
คงมีอยู่ต่อไป  เพื่อรับผิดชอบพื้นที่ขนาดใหญ่ตามพื้นที่จังหวัดในฐานะที่เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่
ที่มีประชาชนเข้ามา รับผิดชอบจัดบริหารกิจการเอง  จึงเสนอร่าง พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
ต่อสภาผู้แทนราษฎร และสภาฯ มีมติ รับหลักการแห่งร่าง พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540  เมื่อวันที่ 19
กุมภาพันธ์  2540  และดำเนินการจนกระทั่ง รัฐบาลมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว จน ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี
นำขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนที่ 62ก. ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2540 มีผลบังคับใช้

                         องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร มีหัวหน้าคณะผู้บริหาร (นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด)
เข้ามารับผิดชอบบริหารจัดการ ตามลำดับดังนี้
                         1. นายตรัยเทพ  นันธิราภากร   16 ธ.ค.2540  -  16 ธ.ค. 2541     
                         2. นายวิบูรณ์  ปวงกิจจา        17 ธ.ค.2541   -  23 ธ.ค. 2542        
                         3. นายอัคคเดช  สุวรรณชัย       5 ก.พ. 2543  -   4 ก.พ. 2547  
                         4. นายอุดร  ไกรวัตนุสสรณ์      14 มี.ค. 2547  -  25 ธ.ค. 2554 (เลือกตั้งทางตรงโดยประชาชน )
                         5. นายมณฑล  ไกรวัตนุสสรณ์  19 ก.พ. 2555  -  จนถึงปัจจุบัน (เลือกตั้งทางตรงโดยประชาชน )

::ประวัติความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร::